กรณีรถหายในห้าง โดยที่ห้างไม่มีการเก็บบัตร เรียกร้องได้มั้ย!?

หัวข้อกระทู้ ใน 'มุมยานพาหนะ รถมอเตอร์ไซต์ รถยนต์ รถเก่า ชลบุรี' เริ่มโพสต์โดย Number18, 27 กันยายน 2013.

  1. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    car-t.jpg

    พอดีอ่านเจอกระทู้พันทิพย์เจอเกี่ยวกับรถหายใน Big C จะทำยังไงดี ... ก็เลยทำให้ได้ข้อมูลคร่าว ๆ มาว่า:

    ในทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ อย่างพวก โลตัส บิ๊กซี และอื่น ๆ อีกหลายที่ ไม่มีการให้พนักงาน รปภ. เข้ามาเก็บบัตรแล้ว เพราะว่าเป็นการลดต้นทุนในการจ้างงาน แต่ที่จริงแล้วยังมีสิ่งแอบแฝงอย่าง การปฏิเสธความรับผิดชอบต่อกรณีมีรถสูญหายในห้างด้วย (ศาลเคยแจ้งว่า กรณีรถหายโดยที่มีคนแจกบัตร-เก็บบัตรเป็นเหมือนการฝากรถ ทางห้างต้องรับผิดชอบ)

    ซึ่งกรณีไม่มีบัตรนั้น บางคนก็บอกว่าฟ้องได้ บางคนก็บอกว่าไม่ได้ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก ก็เลยพยายามหาข้อมูลเพิ่ม และดูเหมือนว่าถ้าใช้กฏหมายเกี่ยวกับ "การคุ้มครองผู้บริโภค" จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ (แต่เราจะต้องมีอะไรยืนยันว่าเราเป็นลูกค้าจริง อย่างเช่น ใบเสร็จของทางห้าง เป็นต้น) ซึ่งได้ข้อมูลจาก icare.kapook.com มาดังนี้:

    ห้างใหญ่หลายแห่งพลิ้วปัดความรับผิด ชอบ กรณีรถลูกค้าหายหรือทรัพย์สินถูกโจรกรรม หันมาติดตั้งกล้องวงจรปิดตัวเดียว แทนจ้าง รปภ.เฝ้า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและทนายความยัน ผู้ให้บริการไม่พ้นความรับผิด อีกทั้งขณะนี้มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้ บริโภครัดกุมขึ้น เผยมีคดีตัวอย่างที่ลูกค้าชนะ

    ประชาชนจำนวนมากได้ตั้งข้อสังเกตผ่าน"เอ็กซ์ไซท์ไทยโพสต์" ว่า ขณะนี้ห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์หลายแห่ง ได้เลิกใช้พนักงานรักษาความปลอดภัย แจกบัตรจอดรถ และเฝ้ารถของลูกค้าที่เข้า ไปใช้บริการ โดยหันมาติดตั้งกล้องวงจรปิดแทนการแจกบัตรจอดรถ ซึ่งนอกจากจะลด ต้นทุนในการจ้างพนักงาน รปภ.แล้ว ยังดูเหมือนว่าห้างเหล่านี้จะปัดความรับ ผิดชอบในกรณีมีการโจรกรรมรถหรือทรัพย์สินภายในรถ ระหว่างเจ้าของรถเข้าไปใช้บริการภายในห้าง

    นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า
    ผู้บริโภคที่ได้รับ ความเดือดร้อน ความเสียหายจากการไปใช้บริการในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ยังคงมี สิทธิเรียกร้องความรับผิดชอบจากทางห้างนั้นๆ ได้ในทุกกรณี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเคยเจอกรณีนี้ 2 คดี เป็นกรณีที่ผู้ บริโภคที่ได้รับความเสียหายจอดรถไว้ที่ห้างแห่งหนึ่ง แล้วทรัพย์สินในรถยนต์ หายไป ส่วนรถได้รับความเสียหาย จนต้องฟ้องร้องให้ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวรับ ผิดชอบ ซึ่งในที่สุดผู้บริโภคก็ชนะคดี ส่วนอีกคดีจะเป็นกรณีที่ผู้บริโภคไปที่ห้าง สรรพสินค้า แล้วตกท่อที่ทางห้างทำไว้ไม่เรียบร้อย คดีนี้ชนะในศาลชั้นต้น แล้ว

    "มีพระราชบัญญัติผู้บริโภคปี พ.ศ.2522 แก้ไขปี พ.ศ.2541 บอกไว้ว่า ผู้ บริโภคสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ หากได้รับความเสียหายจากการไปใช้บริการ จริง ในสถานที่ให้บริการต่างๆ รวมทั้งตอนนี้ยังมีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ที่ระบุไว้ว่า ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถไปที่ศาลในพื้นที่ที่ เกิดความเสียหาย หรือพื้นที่ที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย เพื่อแจ้งเรื่องไว้ กับทางศาล โดยผู้เสียหายไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องเสียค่าวางศาล และภาย ใน 30 วัน ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต้องมาดำเนินการทางคดีต่อไป" น.ส.สารีกล่าว

    เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระบุด้วยว่า กรณี ผู้บริโภคได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินเมื่อไปใช้บริการที่จอดรถในห้างสรรพ สินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ นั้น เจ้าของห้างมักจะเขียนข้อกำหนดว่าจะ ไม่รับผิดชอบในทรัพย์สินหากเกิดความเสียหาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่กล้าฟ้อง ร้อง ในความเป็นจริง เจ้าของห้างหรือแม้แต่บริษัทรักษาความปลอดภัยของห้าง นั้น ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ เพราะผู้ที่เข้าไปใช้บริการก็คือผู้ บริโภคคนหนึ่ง กฎหมายที่ออกมาจึงรองรับในเรื่องนี้
    ด้านนายธวัชชัย สุจริตวรกุล ทนายความ กล่าวว่า เจ้าของห้างหรือบริษัทรักษา ความปลอดภัยมักปัดความรับผิดชอบด้วยการบอกว่า ลานจอดรถ สถานที่ให้จอดรถ ต่างๆ เป็นบริการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มาจับจ่ายซื้อของ หรือถ้าเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีการเก็บค่าจอดรถ ก็จะบอกว่า เป็นการให้เจ้าของรถเช่าพื้นที่จอดรถ ไม่ใช่การรับฝากรถ แต่ เมื่อมีกฎหมายเข้ามาช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการแล้ว ก็ทำให้เจ้าของ ห้างเลี่ยงความรับผิดได้ยาก

    "อยากฝากให้ผู้บริโภค ผู้ใช้บริการในสถานที่สาธารณะ หรือสถานที่บริการต่างๆ หากได้รับความเสียหาย ความเดือดร้อน ควรจะร้องเรียนหรือฟ้องร้อง แม้ว่าอาจจะไม่ชนะในคดี แต่ห้าง หรือสถานบริการนั้นๆ ก็จะถูกลงโทษจากสังคม ด้วยการถูกประณามหรือเลิกใช้ บริการต่อไป" นายธวัชชัยกล่าว.



    แหล่งข้อมูลที่อ้างถึง:
    http://pantip.com/topic/31010429
    http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=1522

แบ่งปันหน้านี้