การเตรียมตัวในช่วงให้นมลูกน้อย การเพิ่มน้ำนมแม่ การปั๊ม-สต็อกนม และปัญหาแพ้นมวัว

หัวข้อกระทู้ ใน 'คลังความรู้เรื่องแม่และเด็ก' เริ่มโพสต์โดย Number18, 6 ตุลาคม 2014.

  1. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    หลังจากที่คุณแม่ผ่านความตื่นเต้นจากการคลอดลูกน้อยมาแล้ว สิ่งที่คุณแม่จะต้องเตรียมอันดับแรกคือการเตรียมตัวให้นมแก่ลูกน้อยเป็นครั้งแรก ซึ่งแน่นอนว่าคุณแม่ที่มีลูกคนแรกจะต้องตื่นเต้นอีกไม่แพ้กัน เพราะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการอุ้มลูกเพื่อให้นมลูก และอีกมากมายเกี่ยวกับการให้นมลูกน้อย

    1. การฝึกเอาลูกเข้าเต้า
    ก็คือการจับให้ลูกกินนมจากเต้าแม่ ตัวลูกน้อยเองยังไม่รู้ว่าต้องกินนมแม่ยังไง คุณแม่จึงต้องฝึกวิธีเอาลูกเข้าหาเต้านมของแม่ เพื่อดูดนมจากเต้า ซึ่งมีิวิธีการคือ
    - คุณแม่ต้องนั่งในตำแหน่งเหมาะๆ ก่อน หากนั่งเก้าอี้ ควรมีเก้าอี้ตัวเล็กรองเท้าอีกที เพื่อให้ตักระนาบตั้งฉาก ควรนั่งหลังตรง อาจจะหาหมอนหนุนหลัง และควรมีหมอนรองที่ตัก เพื่อให้ลูกน้อยอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับการให้นม
    - คุณแม่ใช้มือประคองเต้านม ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบลานนม (ฐานสีคล้ำๆ ที่อยู่รอบหัวนม) อีก 4 นิ้วที่เหลือก็ประคองเต้าด้านล่างเอาไว้ อีกมือโอบลูกไว้ โดยใช้มือประคองศีรษะลูก (ระหว่างคอกับหัว) ค่อยๆ เอาลูกมาชิดเต้านมส่วนล่าง (ตรงบริเวณใต้หัวนม)
    - พอลูกอ้าปาก มือส่วนที่ประคองลูกน้อยอยู่ ก็ค่อยๆ เอาดึงลูกเข้าไปหาเต้านมก่อนที่ลูกจะหุบปาก ซึ่งจะเป็นการทำให้ลูกน้อยอมหัวนมอย่างถูกวิธี คืออมได้ถึงลานนม
    - หากลูกไม่อ้าปาก คุณแม่อาจนำลูกน้อยมาเคล้าคลึงแถวเต้านม โดยใช้หัวนมแม่เขี่ยบริเวณริมฝีปากล่างของลูก เพื่อให้ลูกอ้าปาก
    - หากลูกน้อยอมนมอย่างถูกวิธี ปากลูกน้อยควรอมลานนมด้านล่างมากกว่าด้านบน ทำให้ดูด้านข้างแล้วริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา และเห็นลานนมด้านบนมากกว่าด้านล่าง
    - ลูกน้อยควรมีลำตัวชิดกับแม่ ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวเดียวกัน คางชิดเต้า
    - หากลูกน้อยอมเต้าไม่ถูกต้อง เช่น อมเพียงปลายหัวนม ไม่ได้อมถึงฐานนม อาจทำให้คุณแม่หัวนมแตก และเจ็บได้



    2. จัดท่าให้ลูกน้อยกินนมได้อย่างเหมาะสม
    การให้นมลูกน้อยมีได้หลายท่า การเปลี่ยนท่าทางการกินนม ทำให้คุณแม่ได้เปลี่ยนอริยาบท ไม่เมื่อย ไม่เป็นเหน็บ เมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป หากเป็นท่านั่ง ควรใช้เบาะรองทารก เพื่อช่วยในการจัดท่าทางให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

    - คุณแม่นั่งเก้าอี้ ลูกน้อยนอนบนตัก โดยศีรษะลูกน้อยวางบนข้อศอกแม่ (Cradle Hold) เป็นท่าที่เห็นกันบ่อยๆ หากคุณแม่ให้นมลูกที่เต้าซ้าย มือด้านซ้ายเป็นตัวช่วยประคองตัวลูก ในขณะที่ข้อศอกแม่ประคองศีรษะ มือแม่ที่อยู่ด้านหลังลูกน้อยสามารถส่งผ่านความอบอุ่นไปยังลูกน้อยได้ด้วย

    - คุณแม่นั่งเก้าอี้ ลูกน้อยนอนขวางบนตัก โดยใช้ฝ่ามือประคองช่วงคอและหัวของลูกน้อยไว้ (Cross Cradle Hold) ท่านี้คุณแม่อาจจะต้องฝึกนิดนึง แรกๆ อาจจะรู้สึกไม่ค่อยถนัด เพราะหลายคนกลัวการจับประคองที่คอลูกน้อยด้วยมือเดียว เป็นท่าที่คล้ายกับท่าแรกเพียงแต่ หากคุณแม่ให้นมลูกน้อยด้วยเต้านมซ้าย มือที่ประคองลูกจะเป็นมือด้านขวาแทน

    - คุณแม่นั่งเก้าอี้ แล้วอุ้มลูกน้อยด้านข้าง (Football Hold /Clutch Hold) เป็นท่าที่คล้ายกับลูกน้อยโผล่ออกมาจากทางด้านหลังของแม่ แล้วสอดอยู่ใต้รักแร้ของคุณแม่ เพื่อกินนมเต้าที่ใกล้กับรักแร้ข้างนั้น โดยคุณแม่ใช้มือประคองคอลูกน้อยไว้ เป็นท่าที่เหมาะกับแม่ที่ผ่าตัดทางหน้าท้อง เพราะตัวลูกจะอยู่ด้านข้าง หรือการให้นมกับลูกแฝด ก็สามารถสอดลูกแต่ละคนผ่านใต้รักแร้ ให้อ้อมมาดูดนมแม่ในแต่ละเต้าได้พร้อมกัน

    - ท่านอน (Side Lying) เป็นท่าที่สบายทั้งคุณแม่คุณลูก เพราะคุณแม่ได้พักผ่อนไปพร้อมกับลูกน้อย คุณแม่นอนตะแคง พร้อมกับลูกน้อยนอนหันหน้าเข้าหากัน เพื่อดูดนมแม่ ท่านี้ คุณแม่ควรนอนศีรษะสูงเล็กน้อย เพื่อให้ได้มองลูกน้อยด้วย อาจใช้หมอนเล็กๆ หรือผ้าขนหนูม้วนมาช่วยประคองด้านหลังของลูกน้อยด้วยก็ได้

    การให้นมลูก




    3. คุณแม่ควรปล่อยวางจากเรื่องรอบตัว
    ช่วงเวลาการให้นมลูก เป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย เป็นการถ่ายเทความรัก ความอบอุ่นซึ่งกันและกัน คุณแม่ไม่ควรวิตกกังวล หรืออยู่ในภาวะเครียด เพราะอารมณ์เหล่านี้สามารถถ่ายทอดความรู้สึกสู่ลูกน้อย ผ่านทางการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะทำให้ลูกกลัว และวิตกกังวลไปด้วย การให้นมลูกในขณะที่คุณแม่อารมณ์ดี จะส่งผลให้ลูกอารมณ์ดี และยังทำให้มีน้ำนมออกมาได้มากกว่าด้วย



    4. ปริมาณนมแม่ที่พอเหมาะแก่ลูกน้อย
    ทารกดูดนมในช่วงแรก จะดูดเร็วและถี่ๆ จากนั้นทารกจะดูดทิ้งช่วง และดูดนานขึ้น มีหยุดพักหายใจบ้าง ในช่วงที่ลูกน้อยคลอดออกมาใหม่ๆ ทารกต้องการนมแม่บ่อยครั้ง เพราะแต่ละครั้งทารกอาจกินได้ไม่เยอะ ยังได้รับปริมาณนมไม่เต็มที่ คุณแม่ควรจัดสรรเวลาให้ลูกน้อยได้กินนมแม่อย่างพอเพียง

    - แรกเกิดจนถึง สัปดาห์ที่ 3
    ทารกควรได้รับนมแม่ 10-12 ครั้ง/วัน (หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง) แม้ลูกน้อยจะได้รับนมแม่บ่อยครั้ง ก็ไม่ต้องตกใจหากน้ำหนักลูกน้อยยังไม่เปลี่ยนแปลงให้เห็น น้ำหนักของทารกในช่วงนี้จะยังพอๆ กับช่วงแรกเกิด

    - สัปดาห์ที่ 4-8 (1-2 เดือน)
    เมื่อลูกน้อยชินกับการกินนมแม่แล้ว การดูดนมแม่แต่ละครั้ง จะทำให้ลูกน้อยได้ปริมาณนมที่มากขึ้น คุณแม่สามารถลดจำนวนครั้งในการให้นมเป็นวันละ 8-10 ครั้ง/วัน (ทุกๆ 3 ชั่วโมง)

    - อายุ 3 เดือน - 5 เดือน
    หลังจากช่วง 3 เดือน เป็นภาวะที่คุณแม่หลายคนต้องกลับไปทำงาน และเป็นกังวลว่าลูกน้อยอาจกินนมแม่ได้ไม่สะดวก คุณแม่สามารถให้นมลูกไว้ก่อนไปทำงาน สต็อกนมไว้สำหรับให้ช่วงกลางวัน จากนั้นตอนเย็นจึงกลับมาให้นมลูกต่อ ช่วงนี้คุณแม่สามารถค่อยๆ ลดจำนวนครั้งที่ให้ลูกน้อยกินนม ได้ถึง 6-8 ครั้ง/วัน (ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง) น้ำหนักของลูกน้อยจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเดือนละ 1 กิโลกรัม พอถึงช่วง 5 เดือน ลูกควรมีน้ำหนักตัวเป็น 2 เท่าของแรกเกิด
    (ข้อมูล http://www.momypedia.com/wiki-4-12-78/อาหารของเด็กทารกวัย-0-1-ปี/)

    วิธีคำนวนปริมาณการกินนมของลูกน้อย https://www.facebook.com/note.php?note_id=201266833246734&comments
  2. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    5. การเตรียมสต๊อกนม
    คุณ แม่หลายคนต้องกลับไปทำงาน จึงต้องทำการเตรียมสต๊อกนมไว้ให้ลูกน้อย เพื่อป้อนให้ลูกตอนคุณแม่ไม่อยู่ การปั๊มนมไม่ยุ่งยาก หากคุณแม่มีอุปกรณ์ในการช่วยปั๊มนม และมีการเก็บน้ำนมอย่างถูกวิธี

    เครื่องปั๊มนม
    การ ปั๊มนมทำได้หลายวิธี คุณแม่ที่ไม่มีเวลาสามารถหาอุปกรณ์ในการช่วยปั๊มน้ำนมเก็บสต็อกไว้ได้ เครื่องช่วยปั๊มมีให้เลือกหลายแบบ หลายยี่ห้อ ขึ้นอยู่กับความชอบ ความสะดวกสบายในการใช้งาน และงบประมาณในกระเป๋าของคุณแม่ด้วย

    - ใช้มือคุณแม่ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ธรรมชาติที่สุด เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพดี มีน้ำนมเยอะ ไม่ต้องเสียเวลาใช้เครื่องปั๊ม แค่ใช้มือบีบก็สามารถคั้นน้ำนมใส่ขวด หรือใส่ถุงเก็บไว้ได้เลย ช่วงคั้นนม คุณแม่อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเต้านม และบีบนวดเต้า เพื่อให้น้ำนมออกง่าย

    วิธีการบีบนมด้วยมือ


    - ที่ปั้มนมแบบปั๊มมือ เป็นเครื่องปั๊มแบบใช้แรงมือบีบตัวปั๊ม ไม่ใช้ระบบไฟฟ้า ตัวปั๊มเป็นแบบคันโยก ติดกับขวดนม สามารถปั้๊มได้ทีละข้าง ต้องปั๊มไประยะนึง แล้วจึงจะมีน้ำนมออกมา สามารถปั๊มขณะให้ลูกกินนมอีกข้างนึงอยู่ได้ โดยไม่มีเสียงรบกวนลูก อุปกรณ์นี้หาซื้อง่าย ราคาไม่แพงมาก ประมาณ 1,000 - 2,000 บาท ข้อเสียคือคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อย อาจจะรู้สึกว่าต้องปั๊มนาน เมื่อยมือ เพราะต้องบีบนวดเต้านมไปด้วย
    ตัวอย่างที่ปั๊มมือ ได้แก่ Avent, Pigeon

    การใช้เครื่องปั๊มมือ Avent


    การใช้เครื่องปั๊มมือ Pigeon


    - เครื่องปั้มนมแบบใช้ไฟฟ้า เครื่องนี้มีทั้งแบบขนาดใหญ่ ค่อนข้างหนัก เหมาะกับการวางไว้ที่บ้าน อีกแบบที่นิยมคือแบบพกพา สามารถเอาไปปั๊มที่ทำงานหรือที่อื่นๆ ได้ อุปกรณ์มีขนาดเล็ก ยกไปไหนมาไหนสะดวก มีทั้งแบบใช้ระบบไฟฟ้า (ต้องเสียบปลั๊ก) และแบบใช้แบตเตอรี่ เครื่องแบบนี้ค่อนข้างสะดวกสำหรับคุณแม่ เพราะมีทั้งแบบปั๊มนมได้ทีละข้าง และแบบปั๊มได้สองเต้าพร้อมกัน รวมถึงมีตัวช่วยจับ (Hand Free) ทำให้คุณแม่สามารถทำงานไปด้วย หรือนั่งทำงานอื่นไปด้วยได้ในขณะปั๊มนม บางตัวมีตัวทำจี๊ด เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมด้วย อุปกรณ์การปั๊มนมไฟฟ้านี้ อาจมีราคาตั้งแต่ 6,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และกำลังในการปั๊ม การเลือกซื้อ คุณแม่ควรศึกษาเรื่องของอะไหล่ หรืออุปกรณ์เสริมของแต่ละยี่ห้อด้วย ว่ามีราคาแพงหรือไม่
    ตัวอย่างเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเช่น Ameda lactaline, Rumble Tuff, Medela Freestyle

    การใช้เครื่องปั๊มนม Spectra


    การใช้เครื่องปั๊มนม Ameda lactaline


    การใช้ เครื่องปั๊มนม Medela Freestyle
    http://www.youtube.com/watch?v=odWyXAjgZFI

    การใช้ เครื่องปั๊มนม Medela PIS
    http://www.youtube.com/watch?v=Y1aZheCxPis

    รีวิวเครื่องปั๊มนม http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2011/02/N10220321/N10220321.html
    เครื่องปั๊มนม http://pantip.com/topic/30674226
    พูดคุยเรื่องเครื่องปั๊มนม http://pantip.com/topic/30321011
    พูดคุยเรื่องเครื่องปั๊มนม http://pantip.com/topic/13131384

    ถุงใส่น้ำนมสต็อก
    เป็น ถุงสำหรับใส่น้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาได้ การเก็บใส่ถุงจะทำให้ใช้พื้นที่น้อย ประหยัด และเวลานำมาใช้ละลายได้ดีกว่าแบบขวด น้ำนมที่คุณแม่ปั๊มออกได้มา มีกลิ่นหืนได้ง่าย เมื่อปั๊มได้ จึงควรเก็บใส่ตู้เย็นทันที แล้วจึงบรรจุถุงสำหรับใส่นมตามปริมาณที่ต้องการใช้ในแต่ละครั้ง เขียนวันที่ปั๊มไว้หน้าถุง แล้วใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง (ตอนแช่ครั้งแรกควรวางแบบนอน เพื่อให้น้ำนมแข็งเป็นรูปทรงแบนตามลักษณะถุง สามารถจัดเก็บได้ง่าย ประหยัดพื้นที่) ถุงเก็บนมมีหลายแบบ หลายราคา ส่วนใหญ่บรรจุได้ที่ปริมาณ 6 ออนซ์ อยู่ที่ประมาณใบละ 3 บาท (บางยี่ห้อก็จะแพงหรือถูกกว่านี้) ที่ถุงจะมีที่ให้เขียน และบอกปริมาณน้ำนม (ถุงบางยี่ห้ออาจตวงได้ไม่ตรงตามปริมาณจริง คุณแม่อาจต้องปั๊มนมใส่ขวดเพื่อตวงก่อนใส่ถุง)
    ข้อแนะนำ
    - คุณแม่ควรเลือซื้อถุงบรรจุนมแม่ที่มี BPA Free (ถุงที่ปลอดสารเคมีที่มาจากพลาสติก ซึ่งมีผลทำให้เกิดมะเร็งได้)
    - ไม่ควรละลายถุงนมด้วยการต้ม หรือเข้าไมโครเวฟ
    - ถุงใส่นมแม่ ควรใส่เพียงครั้งเดียว เพราะหากนำมาใช้ซ้ำอาจเกิดการปนเปื้อนได้
    รีวิวถุงเก็บน้ำนมแม่แต่ละยี่ห้อ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jeban&month=16-09-2007&group=26&gblog=8

    วิธีการเก็บสต็อกนมแม่ พันทิป http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2011/12/N11476141/N11476141.html

    กระเป๋าเก็บความเย็น
    เป็น กระเป๋าที่แยกเก็บความเย็นสำหรับบรรจุถุงนมที่ปั๊มเสร็จแล้ว และเครื่องปั๊มนม ในกระเป๋าต้องใส่น้ำแข็งแห้ง หรือเจลเก็บความเย็นไว้เพื่อรักษาความเย็นให้กับนม เช่นกระเป๋า B-Kool (ราคา 1,400-2,500), Gene&Jane รุ่น Just Freeze (1,300 บาท) เวลาใช้ต้องหาน้ำแข็งแห้ง หรือก้อนเจลเก็บความเย็นใส่ไว้ในกระเป๋าด้วย น้ำแข็งแห้ง หรือเจลเก็บความเย็น ราคาอยู่ที่ประมาณ100-300 บาท/แพ็ค

    คุยเรื่องกระเป๋าเก็บความเย็น พันทิป http://pantip.com/topic/30644839

    วิธีปั๊มนมทำสต๊อก http://www.youtube.com/watch?v=eAXpSHnE2FY
    การเตรียมอุปกรณ์สำหรับปั๊มนมที่ทำงาน http://www.youtube.com/watch?v=4CUzb2Bskjw

    6. การจดบันทึก การกินนมของลูกน้อย
    ไม่ ว่าคุณแม่จะมีเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองหรือไม่ การได้จดบันทึกความเป็นไปของลูกน้อย หรือจัดตารางการกิน นอน ตื่น ของลูก จะทำให้ตัวคุณแม่เอง มีเวลาที่จะทำอย่างอื่นได้ ลูกน้อยที่ได้กินนมตามเวลา ก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่งอแง โยเย คุณแม่อาจใช้สมุดบันทึกการเจริญเติบโต หรือจะจดไว้บนปฏิทินก็ได้ ในขณะที่คุณแม่ไปทำงาน คุณแม่สามารถให้ลูกได้กินนมสต็อกได้ โดยละลายใส่ขวดนมให้ลูก สามารถให้ลูกกินได้เป็นมื้อๆ พอคุณแม่กลับมาจึงให้กินนมจากเต้าได้ต่อ
  3. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    7. การกินของคุณแม่ มีผลต่อลูกน้อย
    ในขณะที่คุณแม่ให้นมลูกน้อย อาหารที่คุณแม่กินก็จะกลายเป็นน้ำนมส่งมายังลูกโดยตรง คุณแม่เองควรดูแลเรื่องอาหารการกินด้วย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ ครบทั้ง 5 หมู่ เสริมด้วยผลิตภัณฑ์นม ปลาเล็กปลาน้อย ถั่ว ไข่ เห็ด สาหร่าย เป็นต้น

    นอกจากนี้คุณแม่ควรสังเกตอาหารที่คุณแม่กิน ควบคู่ไปกับลักษณะอาการของลูกน้อยด้วย หากลูกน้อยมีอาการผิดปกติไป สาเหตุหนึ่งอาจมาจากอาหารของคุณแม่ที่กินเข้าไปก็ได้ เพราะคุณแม่กินอะไร ก็จะมายังน้ำนมที่ให้ลูกกิน จึงควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือผสมคาเฟอีน พวกเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ หรือแม้แต่การที่คุณแม่ดื่มนมวัวมากๆ ก็อาจมีผลให้ลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัวได้

    การแพ้นมวัวในเด็ก (Cow's Milk Allergy)
    ปัจจุบันนี้เด็กเล็กๆ เป็นโรคแพ้นมวัวกันมาก ส่วนใหญ่จะพบในทารกที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กมีปฏิกิริยากับโปรตีนที่อยู่ในนมวัว เกิดได้กับเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว หรือเด็กที่กินนมผงสำหรับทารก อาการอาจเกิดหลังจากได้รับนม 1-24 ชั่วโมง หรือเกิดหลังจากที่เด็กได้รับนมวัวไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็ได้ เมื่อเด็กโตขึ้น อาการแพ้นมวัว จะหายไปได้เอง บางรายอาจหายช้า หรือไม่หายก็ได้

    อาการที่แสดงการแพ้นมวัว
    อาการแพ้นมวัว อาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที บางทีจะแสดงอาการเหมือนเป็นหวัดเรื้อรัง มักจะมีผื่นแดงตามผิวหนัง ที่แก้ม แขนขา ข้อพับ มีอาการคัน บวม ร่วมกับผิวหนังแห้ง หนังศรีษระแห้ง เวลานอนหายใจเสียงครืดคราดเหมือนคนเป็นหวัด ท้องอืด ท้องเสีย บางรายอาจแพ้มากอาจอาเจียน ถ่ายเป็นเลือด หรือช็อค เป็นต้น

    ตัวอย่างอาการของเด็กแพ้นมวัว http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tamanja&month=04-2010&date=27&group=3&gblog=14

    สาเหตุที่ลูกน้อยแพ้นมวัว
    - กรรมพันธ์ุ ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้บางอย่าง เช่น แพ้อากาศ แพ้อาหาร แพ้นมวัว หรือเป็นโรคหืดหอบ
    - หากคุณแม่ที่ไม่เคยกินนมมาก่อน แล้วมาเริ่มกินขณะตั้งครรภ์ หรือตอนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดื่มนมมากๆ ก็มีผลทำให้โปรตีนนมวัวผสมออกมาในน้ำนมของแม่ และผ่านไปยังลูกน้อยได้
    - ลูกน้อยอาจแพ้นมวัวที่มาจากนมผงดัดแปลงสำหรับเด็กทารกแรกเกิด หรือเมื่อคุณแม่หยุดให้นมลูกน้อย แล้วให้นมผงแทน

    พูดคุยเรื่องลูกแพ้นมวัว พันทิป http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2012/01/N11554766/N11554766.html
    พูดคุยเรื่องลูกแพ้นมวัว พันทิป http://2g.pantip.com/cafe/family/topic/N8479573/N8479573.html
    พูดคุยเรื่องนมผงสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว http://pantip.com/topic/30253621

    วิธีการดูแลรักษา
    - หากคุณแม่เห็นลูกน้อยมีอาการเข้าข่ายแพ้นมวัว คุณแม่ควรหยุดดื่มนมวัว นมแพะ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของนม เช่นชีส โยเกิร์ต เนย หากลูกน้อยกินนมผงสำหรับทารกแรกเกิด ก็ควรหยุดนมชนิดนั้นไว้ก่อน
    - พาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด และรับยาทาเพื่อระงับผื่น คัน หรือใช้วิธีทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)
    - หากพบว่าลูกน้อยแพ้นมวัว ควรเปลี่ยนนมผงสำหรับลูกน้อย ให้เป็นนมที่สกัดจากอย่างอื่นที่ไม่ใช่นมวัว หรือนมแพะ เช่น นมจากถั่วเหลือง นมกรดอะมิโน น้ำนมไก่ นมข้าว

    ตัวอย่างนมผงสำหรับเด็กแพ้นมวัว
    - นมจากโปรตีนทดแทนที่ผ่านการย่อยมาแล้ว สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว หรือนมถั่วเหลือง เช่น นูตรามีเยน (Nutramigen) (ขนาด 400 กรัม กระป๋องละ 450 บาท), Dumex Pepti

    - นมจากโปรตีนถั่วเหลือง เช่น ไอโซมิล (Isomil Plus Advance) เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Abbott (ขนาด 400 กรัม กระป๋องละ 340 บาท)

    - นมกรดอะมิโน ได้จากกรดอะมิโนสังเคราะห์ รวมกับสารอาหารที่จำเป็นแก่ทารก ใช้กับเด็กที่มีอาการแพ้รุนแรง มีราคาสูง เช่นนีโอเคท (Neocate) ขนาด 400 กรัม กระป๋องละ 1,500 บาท พูลามิโน (Puramino) ขนาด 400 กรัม กระป๋องละ 1,400-16,00 บาท

    - น้ำนมไก่ เป็นนมที่ทางคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช สกัดจากเนื้อไก่ สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว ติดต่อของซื้อได้จากโรงพยาบาลศิริราช (3 ลิตร ราคา 400 บาท)
    (ข้อมูลน้ำนมไก่จาก http://www.sk-hospital.com/skmessage/viewtopic.php?t=3025&sid=24167540c03bae4f8501527329cf5479)

    - นมข้าวอะมิโน เป็นนมที่ทางคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชผลิตขึ้นสำหรับเด็กที่แพ้นมวัวรุนแรง เป็นนมสกัดจากแป้งข้าวเจ้า มีเฉพาะแบบเป็นน้ำนม ยังไม่ผลิตเป็นนมผง และยังไม่มีจำหน่ายตามร้านทั่วไป ต้องติดต่อขอซื้อได้จากโรงพยาบาลศิริราชเท่านั้น (3 ลิตร ราคา 600 บาท)
    ข้อมูลจาก http://www.si.mahidol.ac.th/Th/department/pediatrics/dept_article_detail.asp?a_id=772
    รีวิว ประสบการณ์จากคุณแม่ให้นมข้าวอะมิโน http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tamanja&month=26-04-2010&group=3&gblog=13

    การดูแลเด็กแพ้นมวัว
    - ควรให้เด็กได้รับนมแม่ในปริมาณมากขึ้น เพราะนมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วย และคุณแม่เองก็ควรงดดื่มนมวัว และผลิตภัณฑ์นมต่างๆ เพื่อป้องการโปรตีนจากนมวัวผ่านไปยังน้ำนม
    - เด็กที่แพ้นมวัว มีโอกาสที่จะแพ้นมแพะ นมถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ จึงควรงดอาหารเหล่านี้จนกว่าจะเกิน 6 เดือน หรือ 1 ขวบ
    - นมสำหรับเด็กแพ้นมวัวนี้ มักจะมีรสชาติไม่ค่อยอร่อยถูกใจเด็ก หากต้องการเปลี่ยนนม ควรปรึกษาคุณหมอ หรือผสมนมชนิดใหม่ให้แต่น้อยก่อน เพื่อดูอาการแพ้ของลูกน้อยกับนมชนิดใหม่ด้วย



    8. อาหารเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่
    ในขณะที่คุณแม่ให้นมลูกน้อย เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ เพื่อมีน้ำนมที่มีคุณภาพให้แก่ลูกน้อยด้วย มีสมุนไพรไทยหลายชนิดที่นำมาปรุงอาหาร แล้วสามารถช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้น

    สมุนไพรไทยที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่
    - หัวปลี ฟักทอง ใบกระเพรา โหระพา ขิง ขมิ้นขาว กุยช่าย พริกไทยอ่อน ดอกแค ผักชีลาว ขมิ้นขาว
    - ใบแปะตำปึง (ชื่อจีน จินจิเหมาเยี่ย หรือผักพันปี ผักกระชับ) ทานสด หรือกินจิ้มน้ำพริก หลน ใส่แกงเลียง ผัดน้ำมันหอย

    ตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับเพิ่มน้ำนม
    - กับข้าว เช่น แกงเลียงหัวปลี ต้มยำหัวปลี ยำหัวปลี ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี แกงเลียงผักรวมกุ้งสด ต้มกะทิสายบัวใส่ปลาทู ปลาทูต้มขิง แกงส้มมะรุม ปลาทอดราดขิง ขิงผัดขึ้นช่าย ผัดขิงไก่-หมู ฟักทองผัดไข่ ดอกกุ๋ยช่ายผัดตับ ผัดกระเพราหมู-ไก่-ตับ แกงส้มดอกแค ผัดบวบ ผัดปวยเล้ง ผัดเต้าหู้ เต้าหู้ทรงเครื่อง น้ำพริกผักสด น้ำพริกปลาทูนึ่งทอด
    - ขนมหวาน เช่น เต้าฮวยน้ำขิง บัวลอยน้ำขิง ฟักทองแกงบวด
    - ผลไม้ เช่น มะละกอ กล้วยน้ำว้า
    - ชงหรือต้มเป็นน้ำชาดื่ม เช่น ชาใบมะลิอ่อน น้ำขิง น้ำรากต้นเขยตาย น้ำรากนมวัว



    9. การเตรียมตัว และปรับตัวของคุณแม่ช่วงให้นมบุตร
    คุณแม่บางคนที่เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ก็ต้องมีการปรับตัว และการดำเนินชีวิตที่ให้สอดคล้องกับลูกน้อยด้วย เช่น
    - คุณแม่ควรนอน และตื่นไปพร้อมๆ กับลูกน้อย เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนได้เพียงพอ การให้ลูกน้อยกินนมแม่ทุกๆ 2 ชั่วโมง ทำให้คุณแม่อาจจะเหน็ดเหนื่อยมากในช่วงแรกๆ แต่หากคุณแม่สามารถจัดสรรเวลาพักผ่อนได้ในจังหวะเดียวกันกับช่วงที่ลูกนอน ก็ช่วยให้ไม่เหนื่อยหรือเพลียจนเกินไปนัก
    - คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่พร้อมจะให้นมลูกอยู่ตลอด เพราะช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องให้นมลูกบ่อยๆ คุณแม่จึงควรใส่เสื้อตัวหลวม เสื้อที่เป็นกระดุมหน้า หรือเสื้อที่มีลวดลาย เพื่อพรางน้ำนมที่ไหลเลอะเสื้อได้
    - ดื่มน้ำมากๆ บ่อยๆ หากเป็นน้ำอุ่นก็ดี จะทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย

    8. การให้นมผงแก่ลูกน้อย
    นมผง หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก คือการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของนมวัว ให้มีสารอาหารและองค์ประกอบใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด ใช้เลี้ยงทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน นมผงใช้ชงเลี้ยงลูกน้อยแทนนมแม่ หรืออาจกินควบคู่ไปกับนมแม่ด้วยก็ได้ หลังจากเด็กอายุ 6 เดืิอนขึ้นไป สามารถใช้นมสูตรต่อเนื่อง หรือนมสด

    หากคุณแม่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย การให้ลูกน้อยได้กินนมจากแม่เพียงอย่างเดียวถือว่าดีที่สุด แต่หากคุณแม่มีน้ำนมน้อย อาจจะเสริมนมผงให้ลูกน้อยได้ เมื่อให้นมผงแก่ลูกน้อยแล้ว ควรสังเกตลูกด้วยว่ามีอาการผิดปกติจากการให้นมนั้นๆ หรือไม่

    ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนมผง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=872739

    ข้อแนะนำในการเลือกนมผง
    - ควรเลือกนมผงที่ได้รับเครื่องหมาย อย. ซึ่งได้มาตรฐานที่เชื่อถือได้
    - ไม่ควรใช้เตาไมโครเวฟ อุ่นนมให้ลูก เพราะจะเสียคุณค่าบางอย่างไป



    10. ทำความเข้าใจเรื่องการเลี้ยงดูกับคนในครอบครัว หรือคนที่มาช่วยเลี้ยงลูกน้อย
    การที่คนในบ้านเลี้ยงดูเด็กไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญมาก ในหลายครอบครัวที่มีคนรุ่นเก่ามาช่วยเลี้ยงลูกให้ เช่นลุงป้า น้าอา ปู่ย่า ตายาย อาจเกิดความไม่เข้าใจหรือมีความขัดแย้งในเรื่องการให้เฉพาะนมแม่แก่เด็กช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่จึงมักจะปวดหัว โต้เถียงกันกับคนในบ้าน ถึงวิธีการเลี้ยงดูทารกในแบบที่ต่างกัน คนรุ่นก่อนๆ มักจะเลี้ยงดูทารกกันมาในแบบเดิมๆ สืบทอดกันมาแบบปากต่อปาก รุ่นต่อรุ่น จึงยอมรับได้ยากที่จะให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว หรือบางครอบครัวก็มีความเชื่อในแบบต่างๆ เช่นแนะนำให้คุณแม่กินยาดองหลังคลอด หรือให้ทารกกินกล้วยบดตั้งแต่ 1-2 เดือนแรกบ้าง ซึ่งหากคุณแม่เลี้ยงลูกเองอยู่ที่บ้านได้ตลอด 6 เดือน คงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก เพราะสามารถดูแล จัดการให้นมลูกได้ด้วยตัวเอง (แม้จะต้องทะเลาะกับคนในบ้านบ้าง) แต่สำหรับคุณแม่ที่มีภาระหน้าที่การงาน ต้องฝากให้คนที่บ้าน หรือให้คนอื่นช่วยเลี้ยง ควรทำความเข้าใจถึงผลที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย หากให้อาหารอื่นๆ ที่ไม่ใช่นมแม่แก่ทารกก่อน 4-6 เดือน ซึ่งบางทีอาจส่งผลร้ายแรงต่อลำไส้ของเด็กได้ในภายหลัง สิ่งที่คุณแม่พอจะจัดการกับเรื่องเหล่านี้ได้ก็คือ

    - อาจจะต้องพาคนที่จะเลี้ยงลูกน้อยแทนพ่อแม่ ไปคุยกับคุณหมอโดยตรง เพื่อให้ได้ฟังคำอธิบายด้วยตัวเอง ว่าเด็กควรมีอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป จึงจะสามารถรับอาหารเสริมอื่นนอกเหนือจากนมแม่ได้
    - อธิบายด้วยเหตุผลว่า การที่คุณหมอ (ปัจจุบัน) ไม่แนะนำให้เด็กเริ่มที่การกินกล้วย เพราะอาจทำให้เด็กติดรสชาติหวานของกล้วย แล้วจะไม่ยอมกินผัก หรืออาหารจืดๆ อีก การกินกล้วยจะทำให้เด็กอิ่มเกินไป เด็กจะหลับนาน อาจจะกินนมแม่ได้น้อย และลำไส้ของทารก ยังไม่พร้อมกับการย่อยสิ่งแปลกใหม่
    - ยกตัวอย่างการเกิดปัญหากับทารก ในเคสที่ให้อาหารเด็กก่อนถึงวัยอันควร แล้วเด็กเกิดปัญหาลำไส้อุดตัน เพื่อให้ฟังถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
    กรณีตัวอย่างได้จาก https://www.facebook.com/Hospitalstale
    - พูดต่อรอง หรือยื้อเวลาไปจนกว่าทารกมีอายุอย่างน้อย 4 เดือนซะก่อน
    - หากต่อรองไม่ได้ เป็นต้องแตกหักจริงๆ ก็ควรให้ทารกได้ชิมอาหารในปริมาณน้อยที่สุดก่อน และให้เพียงครั้งเดียวต่อวัน จากนั้นต้องสังเกตการขับถ่ายของลูกน้อยด้วยว่าเป็นอย่างไร เด็กบางคนท้องผูก บางคนท้องเสีย บางคนก็ถ่ายง่ายเป็นปกติ ทางที่ดีคุณแม่ ควรจะต้องยื้อให้เด็กเกิน 4 เดือนไปแล้วจึงจะทานอาหารอื่น เป็นดีที่สุด
    - กรณีที่แม่มีน้ำนมน้อย น้ำหนักตัวเด็กไม่ขึ้น อาจให้อาหารเสริมสำหรับเด็กได้ ในช่วง 4-5 เดือน เช่นข้าวบด ผสมนมแม่, ไข่ต้ม เอาเฉพาะแดงประมาณ 1/4 ฟองควรให้ทีละน้อย และทีละอย่างก่อน

    พูดคุยเรื่องเด็กกินกล้วยตอน 3 เดือน ในพันทิป http://pantip.com/topic/31096646
    พูดคุยเรื่องเด็กกินกล้วยตอน 2 เดือน ในพันทิป http://pantip.com/topic/30899116
  4. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

แบ่งปันหน้านี้